ข้อมูลหลักสูตร

Course information

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และธุรกิจเกษตร

1.1 ปรัชญาของหลักสูตร

เป็นการบูรณาการศาสตร์ด้านเศรษฐศาสตร์การบริหารธุรกิจการเกษตรและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตของเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทยและของโลก

1.2 ความสำคัญของหลักสูตร

1.2.1 หลักสูตรนี้เป็นการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เกษตรและสิ่งแวดล้อมกับความรู้ด้านสังคมศาสตร์ทั้งด้านบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ เพื่อตอบสนองบริบทของเศรษฐกิจการเกษตรที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเป็นพลวัต

1.2.2 บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรสามารถชี้นำสังคมในประเด็นด้านเศรษฐกิจการเกษตรและทรัพยากรมีการบริหารธุรกิจเกษตรที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันกับนานาชาติอย่างยั่งยืน

1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.3.1 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการสามารถประยุกต์และปรับตัวได้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

1.3.2 เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สถานการณ์จริงโดยการผสมผสานภาคทฤษฏีและภาคปฎิบัติเข้าด้วยกันสร้างองค์ความรู้โดยการเรียนรู้ผ่านวิชาโครงงานในระดับปริญญาตรีได้

1.3.3 เพื่อประโยชน์ต่อผู้เรียนและผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

1.3.4 เพื่อให้มีความรู้ทางวิชาการในการต่อยอดในด้านการศึกษาค้นคว้าและวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์ประยุกต์สำหรับการเกษตร ธุรกิจเกษตรและสิ่งแวดล้อม


2.1 วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

    ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคพิเศษ เหมาจ่าย 39,700
    ค่าธรรมเนียมการศึกษาภาคปกติ เหมาจ่าย 17,200 บาท
    จำนวนรวมหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 127 หน่วยกิต
    แผนการรับนิสิตภาคพิเศษ ปีละ 200 คน
    แผนการรับนิสิตภาคปกติ ปีละ 180 คน
    ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนพฤศจิกายน–เดือนมีนาคม
    ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน–เดือนตุลาคม
    วันเสาร์ – อาทิตย์ ระหว่างเวลา 09.00 – 16.00 น.
    ภาคพิเศษ นอกวัน-เวลาราชการ วันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 16.00 – 19.00 น.
    ภาคปกติ วัน–เวลาราชการ วันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.00 – 16.00 น.

โครงสร้างหลักสูตร

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

    – กลุ่มสาระอยู่ดีมีสุข ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
    – กลุ่มสาระศาสตร์แห่งผู้ประกอบการ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
    – กลุ่มสาระภาษากับการสื่อสาร 13 หน่วยกิต
    – กลุ่มสาระพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ไม่น้อยกว่า 5 หน่วยกิต
    – กลุ่มสาระสุนทรียศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 91 หน่วยกิต

    – วิชาเฉพาะบังคับ 52 หน่วยกิต
    – วิชาเฉพาะเลือก ไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต


ในส่วนของวิชาเฉพาะเลือกผู้เรียนสาขาเลือกเรียนสาขาใดสาขาหนึ่งที่สนใจดังต่อไปนี้

1. สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและการเป็นผู้ประกอบการ (Agribusiness Management and
Entrepreneurship)

สาขานี้จะสร้างให้ผู้เรียนสามารถจัดการธุรกิจเกษตรในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาแนวทางการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ (Young and Smart Entrepreneur) สำหรับโลกอนาคตได้อย่างชัดเจน ผู้เรียนจะได้เรียนการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจในธุรกิจเกษตร การทำธุรกิจเกษตรในยุค digital economy การทำธุรกิจเกษตรอย่างยั่งยืน การพัฒนาธุรกิจเกษตรที่ตอบโจทย์ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม การเข้าใจ megatrend ด้านธุรกิจเกษตรและสามารถออกแบบธุรกิจเกษตรให้สอดคล้องกับ megatrend ที่เกิดขึ้นการเข้าใจการทำธุรกิจเกษตรเพื่อสิ่งแวดล้อมและธุรกิจเกษตรสีเขียว รวมถึงมีความเข้าใจในภาพรวมของเศรษฐกิจเกษตรของไทยและของโลกเพื่อยกระดับธุรกิจเกษตรไทยให้แข่งขันในโลกได้อย่างยั่งยืน

รายวิชาสำคัญที่ต้องเรียนในสาขานี้

01123331 กฎหมายและกฎระเบียบทางธุรกิจเกษตรและอาหาร (Agri-Food Business Law and Regulation)

กฎหมาย และกฎระเบียบทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการและภาษี กฎหมายการจ้างงาน กฎหมายผู้บริโภค กฎระเบียบในการดำเนินกิจการ และการเงิน กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม กฎหมายธุรกิจระหว่างประเทศ กฎหมายทางการเกษตร กฎระเบียบทางสิ่งแวดล้อมของภาคเกษตร กฎหมายอาหาร มาตรการและกฎระเบียบทางการค้าสินค้าเกษตรและอาหาร กฎหมายและกฎระเบียบในการทำธุรกิจเกษตรระหว่างประเทศ มีกรณีศึกษา

Business Regulation and Legal. Administrative Law and taxation. Employment and consumer protection laws. Regulations of Securities, Corporate Governance, and Financial Markets. Environmental Law and Corporate social responsibilities. International Legal and Global Commerce. Agriculture law, food law, and environment regulation of agriculture. Agriculture and food trade measure and regulation. Agriculture and food law and regulation for agribusiness firm. Case study in agribusiness.

01123332 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการบริหารการปฏิบัติการทางด้านธุรกิจเกษตรและอาหาร (Data Analytics for Operations Management in Agri-Food Business)

บทบาทของการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจสำหรับธุรกิจเกษตร ความท้าทายใหม่ทางธุรกิจเกษตร การปรับกระบวนการคิดเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐานการตัดสินใจ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟแวร์สมัยใหม่ และวิทยาการข้อมูลสารสนเทศในการจัดการธุรกิจเกษตร การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการข้อมูล และกรอบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเทคนิค ระบบข้อมูลขนาดใหญ่ แบบจำลองพยากรณ์อุปสงค์ และการวิเคราะห์สถานการณ์ตลาด การบริหารคลังสินค้า การออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการ และระบบข้อมูล การจัดการ การผลิต ห่วงโซ่อุปทาน และโลจิสติกส์ การบริหารคุณภาพ และเทคนิคทางสถิติในธุรกิจเกษตร ระบบการผลิตแบบทันเวลา และแบบลีนในธุรกิจเกษตร การกำหนดกำลังการผลิต ทำเลที่ตั้ง เทคนิคการวางแผนและควบคุมการผลิต กลยุทธ์สำหรับการบริหารปฏิบัติการและการจัดองค์กรธุรกิจเกษตร กรณีศึกษาธุรกิจเกษตร และมีการศึกษานอกสถานที่

The role of business data analysis for agribusiness. New challenges in agribusiness. Revolutionizing the thinking process about information-based decision making. The using of information technology, modern software and data science in agribusiness management. Data analysis, data management and data analytics framework. Big data analytics, demand forecasting model and market situation analysis. Warehouse management, product and process design,
data management system. Production management, supply chain and logistics management, quality management, statistical techniques in agribusiness. Just-in time and Lean production systems in agribusiness. Capacity and location determination, production planning and controlling techniques. Strategies for operating management and organizing in agribusiness. Case studies and field trips required.

01123333 การวิเคราะห์ตลาดสำหรับการจัดการและการเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจเกษตรและอาหาร
(Market Analytics for Agri-Food Business Management and Entrepreneur)

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับข้อมูลในธุรกิจเกษตรและอาหาร การรวบรวม การเตรียม การตรวจสอบข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาเพื่อวิเคราะห์ตลาด การทดสอบสมมติฐานและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย การวิเคราะห์สมการถดถอยเพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค การวิเคราะห์ปัจจัยและการจัดกลุ่มด้วยเทคนิคสำหรับการตลาด

General information about data in agricultural and food business. Collecting preparing and checking the data. Descriptive statistics for market analysis. Hypothesis testing and correlation among variables. Regression for consumer behavior. Factor analysis and cluster analysis for marketing.

01123334 การวิเคราะห์แผนธุรกิจและการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรและอาหาร (Business Plan and Investment Analysis for Agri-Food Business entrepreneur)

การพัฒนาธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร กระบวนการและกลยุทธ์ในการนำเสนอของโครงการลงทุนและการเขียนแผนธุรกิจ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เครื่องมือทางการเงินในการประเมินค่าการลงทุน การวางแผนการดำเนินงานและบริหารจัดการโครงการลงทุน กระบวนการและกลยุทธ์การนำเสนอ

Business Concept development for agribusiness entrepreneur. Business plan process and Writing. Investment project feasibility study. Financing tools for appraisal process. Investment project implementation planning and management. Project pitching process and strategies.

01130172 การบัญชีเพื่อการจัดการ (Management Accounting)

ความสำคัญของการบัญชีเพื่อการจัดการ การสะสมต้นทุน ต้นทุนมาตรฐาน ต้นทุนตามกิจกรรม การงบประมาณ งบประมาณยืดหยุ่น การวิเคราะห์ต้นทุน – ปริมาณ – กำไร การบัญชีตามความรับผิดชอบ การรายงานตามส่วนงาน การกำหนดราคา การใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการตัดสินใจ

Importances of management accounting, cost accumulation, standard costing, activity based costing, budgeting, flexible budgeting, cost – volume – profit analysis, responsibility accounting, segment reporting, pricing, use of accounting data for decision making.


2. สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและอาหาร (Agricultural and Food Economics)

สาขานี้จะช่วยสร้างให้นิสิตมองเห็นภาพเชื่อมโยงเศรษฐกิจเกษตรและอาหารในระดับจุลภาคและมหภาค และสามารถนำหลักเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และนำเสนอนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเกษตรและอาหารที่เป็นประเด็นสำคัญ (Hot issues) ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกได้อย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผล เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาความยากจน ปัญหาความมั่นคงและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร ปัญหา สงครามการค้าระหว่างประเทศ โดยนิสิตในความมุ่งเน้นนี้จะได้ศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ในหลายด้าน เช่น เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมเกษตรและการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า เศรษฐศาสตร์ การพัฒนาและนโยบายเกษตร ทฤษฎีและนโยบายการค้าสินค้าเกษตรระหวางประเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเศรษฐมิติเพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

รายวิชาสำคัญที่ต้องเรียนในสาขานี้

01123351 ทฤษฎีและนโยบายการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ (International Agricultural Trade Theory and Policy)

ความสำคัญและบทบาทของการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ ผลิตภาพแรงงาน และหลักความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ: The Ricardo Model ทฤษฎีปัจจัยการผลิตเฉพาะเจาะจง (Specific Factor Model) และการกระจายรายได้ ทรัพยากรและการค้า: The Heckscher Ohlin Model ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศทั่วไป: The Standard Trade Model การประหยัดต่อขนาดจากภายนอก (External Economies of Scale) และการเลือกที่ตั้งระหว่างประเทศ บทบาทของบริษัทในระบบเศรษฐกิจโลก: การตัดสินใจส่งออกการจ้างผลิต และบรรษัทข้ามชาติ เครื่องมือของนโยบายการค้า: นโยบายการค้าที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษี เขตการค้าพิเศษ (Preferential Trade Area) เศรษฐกิจการเมืองกับนโยบายการค้าระหว่างประเทศ นโยบายการค้าระหว่างประเทศในประเทศกำลังพัฒนา ประเด็นความขัดแย้งในนโยบายการค้าระหว่างประเทศ

Importance and role of international agricultural trade. Labor productivity and comparative advantage: The Ricardian Model. Specific factors and income distribution. Resources and trade: the Heckscher-Ohlin model, the standard trade model, external economies of scale and the international location of production firms in the global economy: Export decisions, outsourcing, and multinational enterprises. The instruments of trade policy: Tariff and non-tariff policies. Preferential trade area. The political economy of trade policy trade policy in developing countries controversies in trade policy.

01123352 เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารและการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าเกษตรและอาหาร (Economics Industrial Organization and Agri-Food Value Chain Analysis)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ความแตกต่างในตัวสินค้า คุณภาพ และผู้บริโภค ข้อมูลคุณภาพอาหารที่ไม่เท่าเทียม ฉลากอาหาร การกำหนดราคาเชิงกลยุทธ์ในห่วงโซ่ คุณค่าของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร นวัตกรรม ความร่วมมือและมาตรฐานอุตสาหกรรมในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร กรณีศึกษาห่วงโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมเกษตรและ อาหารในประเทศไทย

An introduction to agro- food value chain. Product differentiation, Quality, and consumer. Asymmetric information on food quality. Food labelling. Strategic pricing in agrofood value chain. Innovation. Coordination and industrial standard in agro-food value chain. Food security. Case studies of agro-food value chain in Thailand.

01123353 การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับนักเศรษฐศาสตร์เกษตรและอาหาร (Data Analytics for Agri-Food Economists)

การนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ การเล่าเรื่องผ่านข้อมูล ข้อมูลขนาดใหญ่ การเรียนรู้ด้วยเครื่องจักรสมองกล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตรวจสอบ เทคนิคการค้นหาการเกาะกลุ่มหรือการกระจุกตัวของข้อมูล เทคนิคการลดขนาดของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากเทคนิคการวิเคราะห์สมการถดถอยเทคนิคการพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลา การประยุกต์เพื่อการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เกษตร

Data visualization. Storytelling with data. Big Data. Machine learning. Descriptive analytics. Diagnostic analytics. Predictive analytics. Cluster analysis. Factor analtsis. Regression analysis and time-series forecasting. forecasting. Applications in agricultural economics.

01123354 เศรษฐศาสตร์การพัฒนาและนโยบายเกษตร (Development Economics and Agricultural Policy)

ความหมายและเป้าหมายของการพัฒนา พัฒนาการและการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ บทบาทของนโยบายต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและธุรกิจการเกษตร การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบาย นโยบายการเกษตร นโยบายอาหาร นโยบายนวัตกรรม นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายพัฒนาทุนมนุษย์ บทเรียนจากประสบการณ์ด้านการพัฒนาทั้งในและต่างประเทศ

Definitions and goals of development. Economic growth and development. Economic transformation. Roles of policies on agribusiness and economic development. Policy impact assessment. Agricultural policy. Food policy. Innovation policy. Digital economy policy. Human capital policy. Lessons from development experiences in Thailand and other countries.

01123355 เศรษฐศาสตร์การบริโภคอาหาร (Economics of Food Consumption)

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การบริโภคอาหาร ความพึงพอใจในความเสี่ยงต่อการบริโภคอาหาร อุปสงค์ของผู้บริโภคที่มีต่อคุณลักษณะของสินค้าอาหาร ผลกระทบของพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มรต่อสุขภาพ ผลกระทบของแนวคิดจริยธรรมและสิ่งแวดล้อมต่อการบริโภคอาหาร การบริโภคอาหารในและนอกบ้าน การสูญเสียอาหารและอาหารที่ถูกทิ้ง นโยบายอาหารในประเทศไทยและในต่างประเทศ

Economic theories of food consumption. Risk preferences on food consumption. Demand for food attributes. Effects of food consumption on health. Effect of ethical and environmental concepts on food consumption. Consumption of food away from home and food at home. Food loss and food waste. Food policy in Thailand and abroad.


3. สาขาเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและการจัดการอย่างยั่งยืน (Environmental Economics and Sustainable Development)

สาขานี้ใช้ชื่อเล่นว่า Green economy and sustainable management เป็นกลุ่มวิชาเพื่อจะช่วยสร้างให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความสำคัญของปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับความท้าทายด้านเศรษฐกิจและธุรกิจของประเทศที่ปรับตัวอย่างเป็นพลวัตจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขาดแคลน ทรัพยากรที่เป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ (big challenge) ของโลกในศตวรรษที่ 21 ผู้เรียนจะได้เรียนหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ใช้เพื่อการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การจัดการธุรกิจ และเศรษฐกิจสีเขียว และหลักเศรษฐศาสตร์ด้านการรับเมื่อกับภัยพิบัติธรรมชาติจาก เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ในการออกแบบ นโยบายในการพัฒนาประเทศและส่งเสริมภาคธุรกิจเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในโลกอนาคตที่ การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นกระแสหลัก (mainstream)

รายวิชาสำคัญที่ต้องเรียนในสาขานี้

01123371 เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural Resource and Environmental Economics )

การจำแนกประเภทของทรัพยากร ความสัมพันธ์ระหว่างการเกษตร สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และสวัสดิภาพของสังคม ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในภาคเกษตร หลักเศรษฐศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ทรัพยากร หลักเศรษฐศาสตร์สำหรับการจัดการมลพิษ

Classification of natural resources. Relationships among agriculture, environment, natural resources, and social welfare. Environmental and resource problems in agricultural sector. Economic principles for natural resource use and conservation. Economic principle for pollution management.

01123372 การจัดการเศรษฐกิจสีเขียวและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Green Economy Management and Sustainable Development)

ความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน แนวคิดทุนธรรมชาติ การพัฒนาของแนวคิดเชิงสิ่งแวดล้อมนิยม แนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว แนวคิดเศรษฐกิจฐานชีวภาพและเศรษฐกิจหมุนเวียน บทบาทและความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมกับระบบเศรษฐกิจและธุรกิจการเกษตร โมเดลของปัญหาและการจัดการสิ่งแวดล้อม แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน การประเมินความยั่งยืน การจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ทั้งในด้านผลกระทบและแนวทางการปรับตัว นวัตกรรมใหม่สำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คาร์บอนฟุตพริ้นท์และวอเทอร์ฟุตพริ้นท์ในภาคธุรกิจการเกษตร กรณีศึกษาการจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในต่างประเทศ

Importance of green management and sustainable development. Natural Capital. Revolution of environmentalism. Green economy concept. Bio- economy and circular economy concept. Roles and relationship between environment, economy and agribusiness. Model of problem and environmental management. Sustainable development concept. Assessing the sustainability. Green management under climate change and climate variation both impacts and adaptation strategies. Innovation for green management and sustainable development. Carbon footprint and Water footprint in agribusiness. Case study of green management and sustainable development in foreign countries.

01123373 เศรษฐศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Economics of Climate Change)

สาเหตุและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเด็นเชิงเศรษฐศาสตร์ของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเป็นธรรมในการรับมือและบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Causes and impacts of climate change. Economic issues of climate change. Climate change mitigation and adaptation in agricultural and business sector. Climate change related policies. Fairness in response and climate change mitigation. Climate change and sustainable development.

01123374 นโยบายเพื่อการพัฒนาสีเขียว (Policy for Green Development)

ความสำคัญของนโยบายเพื่อการพัฒนาสีเขียว การกำหนดปัญหาสิ่งแวดล้อมและเป้าหมายของนโยบายสีเขียว ประเภทของเครื่องมือเชิงนโยบาย แนวทางการเลือกเครื่องมือเชิงนโยบาย นโยบายสำหรับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ ปัจจัยเชิงสถาบัน กฎหมาย และข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อม ประเด็นด้านนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหา กรณีศึกษา.

Importance of policy for green development. Defining environmental problems and green policy goals. Classification of policy instruments. Selection of Policy instruments. Policies for management of natural resources and ecosystems. Environmental institutions, laws and regulations. Policy issues and potential solutions. Case Studies.

01123375 การประเมินมูลค่าทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมสำหรับทรัพยากรเกษตร (Natural Resource and Environmental Valuation for Agricultral Resources)

มูลค่าของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในภาคเกษตร ความสำคัญของค่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลักการและเทคนิคทางเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการประเมินมูลค่าทางการเกษตร.

Value of resource and environment in agricultural sector Importance of economic value of natural resource and environment. Economic principle and techniques of economic valuation for agriculture.